การศึกษาการบริหารงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

 

การศึกษาการบริหารงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
A Study of Research Administration on Learning Development of Primary School Administrators under the Primary Education Office Nakhon Ratchasima

Classification :.DDC: 370.7
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิจัยเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ จำนวน 43 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1. การบริหารงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยการบริหารงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ด้านการวางแผนมากที่สุด ( =3.47, S.D. = .62) รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติตามแผน ( =3.40, S.D. = .68) ด้านการนำผล การประเมินมาปรับปรุง ( =3.38, S.D. = .71) และด้านการตรวจสอบประเมินผล ( =3.14, S.D. = .78) ตามลำดับ 2. การบริหารงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดใหญ่ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เพียง 1 ด้าน คือ ด้านการวางแผนการบริหารงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา ที่มี วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีและต่ำกว่า สูงกว่าปริญญาตรีและกำลังศึกษาปริญญาโท แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน The research aimed at studying and comparing the research administration on learning development of primary school administrators under the Primary Education Office in Nakhon Ratchasima, regarding to the school sizes and administrators’ qualification. The sample group of the study was 302 primary school administrators under the Primary Education Office Nakhon Ratchasima. The data collection employed a five-rating scale questionnaire consisting of forty-three items. Mean ( ), standard deviation (S.D.), and One-way ANOVA were employed in the data analysis. The research showed that 1. When generally and specifically considered, the research administration on learning development of primary school administrators under the Primary Education Office Nakhon Ratchasima showed the average level. When specifically considered, the planning aspect showed the highest level ( =3.47, S.D. = .62). The second highest was the aspect relating to the planned action ( =3.40, S.D. = .68). The improved assessment plan ( =3.38, S.D. = .71) and then yielded the aspect relating to the assessment ( =3.14, S.D. = .78) respectively. 2. Regarding to the school sizes, the research administration on learning development of primary school administrators working in large medium or small size schools showed no statistically significant difference at the .05 level, when generally considered. However, when specifically considered, there was statistically significant difference at the .05 level within the aspect relating to the planning. 3. Regarding to the administrators’ qualifications, the research administration on learning development of primary school administrators receiving bachelor degree and lower showed higher level than that of primary school administrators receiving bachelor degree and studying in graduate schools. When generally and specifically considered, there was statistically significant different at the .05 level in all aspects.
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Email: library@nrru.ac.th
Role: ประธานกรรมการ
Role: กรรมการ
Created: 2546
Modified: 2549-10-02
Issued: 2549-09-26
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
ISBN: 9743164006
CallNumber: 370.7
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
RightsAccess:
 
 
 
พฤทธิ์ พงษ์สีดา (2546) การศึกษาการบริหารงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
บริหารการศึกษา ครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คุณลักษณะของผู้บริหารตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี

ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองนครปฐม